การจัดทำความร่วมมือทางวิชาการภายในประเทศ (MOU)

      วิทยาลัยการอาชีพตากใบ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ชื่อหน่วยงานที่ทำความร่วมมือ สัญญาลงนามวันที่ ความร่วมือในด้าน ความก้าวหน้าในการทำความร่วมือสรุปโดยย่อ
โรงเรียนตากใบ   ในด้านการเรียนการสอน การเรียนการสอนแบบทวิศึกษา
       

ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสืบค้นหา เพื่อใช้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนและค้นคว้างานวิจัยได้ ได้แก่

ลำดับ ฐานข้อมูล รายละเอียด
 1  ABI/INFORM Complete

 หนึ่งในฐานข้อมูลที่ครอบคลุมเนื้อหาทางด้านบริหารจัดการไว้มากที่สุด โดยรวบรวมสิ่งพิมพ์มากกว่า 5,000 ชื่อเรื่อง รวมดุษฎีนิพนธ์ (Dissertations) และวิทยานิพนธ์ (Theses) สาขาบริหารจัดการที่ให้บริการรูปแบบฉบับเต็ม (Full Text) มากกว่า 30,000 ชื่อเรื่อง ซึ่งผู้ใช้สามารถนำข้อมูลจาก ABI/Inform มาใช้เพื่อศึกษาภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ แนวโน้มทางธุรกิจ เทคนิคการจัดการ กลยุทธ์ต่างๆที่ใช้ในการบริหารจัดการ เป็นต้น 

>>>คลิกเพื่อดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน<<<

 2  ACM Digital Library

 เป็นฐานข้อมูลทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง จดหมายข่าว และเอกสารในการประชุมวิชาการ ที่จัดทำโดย ACM(Association for Computing Machinery) ซึ่งเนื้อหาประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญ เช่น รายการบรรณานุกรม สาระสังเขป article reviews และบทความฉบับเต็ม ให้ข้อมูลตั้งแต่ปี 1985- ปัจจุบัน 

>>>คลิกเพื่อดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน<<<

 3  BioOne

 เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวารสารอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 170 รายชื่อ จากสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงมากกว่า 129 สำนักพิมพ์ ทางสาขาวิชาชีววิทยา (Biological) นิเวศวิทยา (Ecological) วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Environmental Sciences) และสาขาที่เกี่ยวข้อง ให้ข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1989 –ปัจจุบัน ประกอบด้วยรายการทางบรรณานุกรม สาระสังเขป และเอกสารฉบับเต็มรูปแบบ HTML และ PD

>>>คลิกเพื่อดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน<<<

 4  IEEE/IET Electronic Library (IEL)

 เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมสารสนเทศจาก 2 แหล่งข้อมูล คือ The Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) และ The Institution of Engineering and Technology (IET) ซึ่งใน IEL ประกอบด้วยเอกสารมากกว่า 1.2 ล้านจากสิ่งพิมพ์มากกว่า 12,000 ชื่อ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ครอบคลุมตั้งแต่ปี 1998 – ปัจจุบัน

>>>คลิกเพื่อดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน<<<

 5  ProQuest Dissertantion & Theses Full Tex

 เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก (Full-text) ของสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมถึงบางสถาบันการศึกษาจากทวีปยุโรป ออสเตรเลีย เอเชีย และแอฟริกา มากกว่า 1,700 แห่ง ประกอบไปด้วยเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกและปริญญาโทตั้งแต่ปี 1997 ถึงปัจจุบัน มากกว่า 1.4 ล้านรายการ และสาระสังเขปวิทยานิพนธ์มากกว่า 2.7 ล้านรายการ

>>>คลิกเพื่อดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน<<<

 6  Springerlink-Journal

 ฐานข้อมูลวารสารฉบับเต็มให้เนื้อหาครอบคลุมด้านพฤติกรรมศาสตร์(Behavioral Science), ชีวการแพทย์ (Biomedical and Life Science), ธุรกิจและเศรษฐศาสตร์(Business and Economics) เคมีและวัสดุศาสตร์ (Chemistry and Material Sciences), วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science), วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Earth and Environmental Science), วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering), มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Humanities, Social Science and Law), คณิตศาสตร์ (Mathematics), แพทยศาสตร์ (Medicine) และ ฟิสิกส์(Physics& Astronomy

>>>คลิกเพื่อดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน<<<

 7  Web Of Science

 เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปจากวารสารไม่น้อยกว่า 10,000 ชื่อ มีข้อมูล ครอบคลุมสาขาวิชาหลัก คือ วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ มนุษยศาสตร์ สามารถสืบค้นข้อมูลตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 จนถึงปัจจุบัน

>>>คลิกเพื่อดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน<<<

 8  ACS Journal

 เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมบทความ และงานวิจัย จากวารสารทางด้านเคมีและวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องโดยรวบรวมจากวารสารทั้งที่พิมพ์เป็นรูปเล่ม วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Journals) ข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นเป็นข้อมูลฉบับเต็ม (Full Text) และรูปภาพ (Image) ย้อนหลังตั้งแต่ปี 1996

>>>คลิกเพื่อดาวน์โหลดคู่มือการใช้งาน<<<

 

เว็บไซต์กระทรวงแรงงาน / กรมแรงงาน
- กระทรวงแรงงาน Click
- กรมการจัดหางาน Click
- กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Click
- สำนักงานจัดหางานนราธิวาส Click
- สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 25 นราธิวาส Click

\

ข้อมูลจากกองวิจัยตลาดแรงงาน
- สถานการณ์การว่างงาน การเลิกจ้าง และความต้องการแรงงาน (เดือนมกราคม พ.ศ. 2561) Click

จังหวัดนราธิวาส

 

ประวัติ

          จังหวัดนราธิวาส เดิมมีฐานะเป็นเพียงอำเภอหนึ่ง เรียกว่า อำเภอบางนรา ขึ้นกับเมืองสายบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองภาคใต้ ต่อมาได้โอนไปขึ้นกับเมืองระแงะ ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดหัวเมืองเช่นกัน โดยประวัติความเป็นมาของนราธิวาสนั้น มีความชื่อมโยงกับเรื่องราวของเมืองปัตตานี เมืองสายบุรี และเมืองระแงะ

          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงรับสั่งให้กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ยกทัพหลวงลงมาปักษ์ใต้เพื่อปราบปรามข้าศึกที่เข้ามาทางปักษ์ใต้ เมื่อข้าศึกแตกพ่ายหนีไปหมดแล้ว จึงเสด็จประทับ ณ เมืองสงขลา และได้มีรับสั่งออกไปถึงหัวเมืองมลายูทั้งหลาย ที่เคยขึ้นกับอยุธยามาก่อน ให้มาอ่อนน้อมดังเดิม โดยพระยาไทรบุรี และพระยาตรังกานูยอมอ่อนน้อมแต่โดยดี แต่พระยาปัตตานีแข็งเมืองไม่ยอมอ่อนน้อม จึงรับสั่งให้ยกทัพไปเมืองปัตตานีเมื่อ พ.ศ. 2332 เมื่อได้เมืองปัตตานีแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานตราตั้งให้แก่พระยาสงขลา (บุญฮุย) เป็นพระยาปัตตานี และให้อยู่ในความกำกับดูแลของเมืองสงขลาต่อไป และตั้งในเป็นเมืองมนตรีขึ้นอยู่กับกรุงรัตนโกสินทร์โดยตรง ในระหว่างที่พระยาปัตตานี (ขวัญซ้าย) ว่าราชการเมืองปัตตานีอยู่นั้น บ้านเมืองสงบเรียบร้อยปกติสุขตลอดมา ครั้นเมื่อพระยาปัตตานีถึงแก่กรรม ทรงโปรดเกล้าฯ ให้นายพ่าย น้องชายพระยาหลวงสวัสดิภักดีผู้ช่วราชการเมืองปัตตานี และได้ย้ายที่ว่าการเมืองปัตตานีจากบ้านมะนา (อ่าวนาเกลือ) ไปตั้งอยู่ที่บ้านยามู

         ในระหว่างนั้นพวกของซาเห็ดรัตนวงศ์ฯ และพวกโมเซฟได้เริ่มก่อกวนความสงบสุขของบ้านเมือง โดยคบคิดกับปล้นบ้านพระยาปัตตานี และบ้านหลวงสวัสดิภักดี แต่ก็ได้ถูกตีถอยหนีไปหลบซ่อนตัวอยู่ที่บ้านกะลาพอ แขวงเมืองสายบุรี นอกจากนั้นเมืองปัตตานีซึ่งมีอาณาเขตกว้างขวาง และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม เที่ยวปล้นบ้านเรือนราษฎรจนเหลือกำลังที่พระยาปัตตานีจะปราบให้ราบคาบได้ จึงแจ้งราชการไปยังเมืองสงขลา พระยาสงขลา (เถียนจ๋อง) ออกมาปราบปราม และจัดนโยบายแบ่งแยกเมืองปัตตานีออกเป็น 7 เมือง ได้แก่ เมืองปัตตานี, เมืองหนองจิก, เมืองยะลา, เมืองรามันห์, เมืองระแงะ, เมืองสายบุรี และเมืองยะหริ่ง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้มีพระยาปัตตานี (ต่วนสุหลง), พระยาหนองจิก (ต่วนกะจิ), พระยายะลา (ต่วนบางกอก) และพระยาระแงะ (หนิเดะ) โดยเจ้าเมืองทั้ง 4 ได้สมคบคิดกันเป็นกบฏขึ้น จึงโปรดเกล้าให้พระยาเพชรบุรี และพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) ลงมาปราบ และพิจารณาเห็นว่า หนิบอสูชาวบ้านบางปูซึ่งพระยายะหริ่แต่งตั้งให้เป็นกรมการเมืองยะหริ่งได้เป็นกำลังสำคัญ และได้ทำการต่อสู้ด้วยความกล้าหาญยิ่ง ด้วยคุณงามความดีนี้จึงได้แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาราชการเมืองระแงะ สืบต่อจากพระยาระแงะ (หนิเดะ) ที่หนีไป และได้ย้ายที่ว่าราชการจากบ้านระแงะมาตั้งใหม่ที่ตำบลตันหยงมัส

          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงให้ยกเลิกการปกครองแบบเก่า เพราะการแบ่งเขตแขวงการปกครอง และตำแหน่งหน้าที่ราชการในหัวเมืองทั้ง 7 ที่ยังทับซ้อนกันอยู่หลายแห่ง จึงได้วางระเบียบแผนการปกครองและตำแหน่งหน้าที่ราชการให้เป็นระเบียบตามสมควรแก่กาลสมัย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2444

          ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2449 มีประกาศพระบรมราชโองการให้แยกบริเวณ 7 หัวเมืองออกมาจากมณฑลเทศาภิบาล เรียกว่า มณฑลปัตตานี เพื่อสะดวกแก่ราชการ และทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญขึ้นกว่าแต่ก่อน ในปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายที่ว่าราชการจากเมืองระแงะ ตำบลตันหยงมัส มาตั้งที่บ้านมะนาลอ (บางมะนาวในปัจจุบัน) อำเภอบางนรา ส่วนท้องที่เมืองระแงะ และได้ยกฐานะอำเภอบางนราขึ้นเป็นเมืองบางนรา มีอำเภอในการปกครองได้แก่ อำเภอบางนรา, อำเภอตันหยงมัส, กิ่งอำเภอยะบะ, อำเภอสุไหงปาดี และกิ่งอำเภอโต๊ะโมะ

          ครั้นต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้เสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองบางนรา ทรงพระราชทานพระแสงศาสตราแก่เมืองบางนรา และทรงดำริว่าบางนรานั้นเป็นชื่อตำบลบ้าน และควรที่จะมีชื่อเมืองไว้เป็นหลักฐานสืบไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "เมืองนราธิวาส" ซึ่งหมายถึงที่อยู่ของคนดี เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2458

          ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคครั้งยิ่งใหญ่ และให้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นจังหวัด เมืองนราธิวาสจึงเป็นเปลี่ยนเป็น "จังหวัดนราธิวาส" จากนั้นเป็นต้นมา

อ่านทั้งหมด